บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2017

POWERPOINT

ผู้จัดทำ

รูปภาพ
1.นายจักรพรรด์ เกอวิน ม.5/3 เลขที่1 2.นายนัทธพล วิงวอน ม.5/3 เลขที่2 3.นายชนินทร มรรคผล ม.5/3 เลขที่8 4.นายศุภกร ธรรมวาริน ม.5/3 เลขที่9

วิดีโอคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

รูปภาพ

ส่วนประกอบภายในเครื่อง

รูปภาพ
หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU-Central Processing Unit) เป็นอุปกรณ์หลักของคอมพิวเตอร์  ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผล และควบคุมอุปกรณ์อื่นๆ  ประกอบด้วยหน่วยย่อย  3  หน่วย คือ หน่วยความจำหลัก หน่วยคณิตศาสตร์และตรรกะ หรือหน่วยคำนวณ และหน่วยควบคุม หน่วยความจำรอม (ROM-Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่ใช้บันทึกข้อมูลของอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด เช่น ขนาดและประเภทของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ ขนาดของแรม หน่วยประมวลผลที่ใช้ การติดตั้งฟลอปปี้ไดรฟ์  เป็นต้น และใช้เก็บคำสั่งที่มักใช้บ่อยๆ เช่น คำสั่งเริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์   ข้อมูลที่บันทึกในรอม จะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่อง  มักจะเป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก โดยเฉพาะข้อมูลที่ใช้ในการเริ่มระบบ (Start Up)  ข้อมูลควบคุมการรับส่งคำสั่งและข้อมูล ตลอดจนการแสดงผล หน่วยความจำแรม (RAM - Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้พักข้อมูลชั่วคราว ระหว่างอุปกรณ์บันทึกข้อมูลต่างๆ กับหน่วยประมวลผลกลาง เมื่อปิดเครื่อง ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไป

ตัวเครื่อง

รูปภาพ
ตัวเครื่องมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิต ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น  4  ประเภท ตัวเครื่องแบบแนวนอน ( Desktop Case) วางตัวเครื่องแนวนอนบนโต๊ะ แล้วนำจอภาพมาวางซ้อนไว้บนโต๊ะ ตัวเครื่องแบบแนวตั้ง ( Tower Case)   วางตัวเครื่องไว้ในแนวตั้ง  สามารถนำมาวางบนโต๊ะ หรือบนพื้น แล้ววางจอภาพไว้ข้างๆ ตัวเครื่อง  ปัจจุบันแบบนี้ได้รับความนิยม ตัวเครื่องแบบรวมในชิ้นเดียว ( All-In-One Case)   เป็นการวางเอาตัวเครื่องและอุปกรณ์ทั้งหมด รวมเป็นชิ้นเดียว คล้ายกับโทรทัศน์ ตัวเครื่องแบบนี้สะดวกในการเคลื่อนย้ายกะทัดรัด แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะเพิ่มเติมอุปกรณ์ได้ยากเนื่องจากเปิดตัวเครื่องไม่สะดวก คอมพิวเตอร์แบบพกพา  สามารถพกพา หรือนำติดตัวไปใช้งานในที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวก ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และสามารถใช้งานได้โดยแบตเตอรี่ที่อยู่ในเครื่อง (2-3 ชม.) แต่มีข้อจำกัดคือ ราคาแพง และการเพิ่มเติมอุปกรณ์ทำได้ยาก

ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์

ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ... คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ 2 ส่วน ... 3.1 Hardware  ... เป็น ส่วนที่ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น     ไมโครโปรเซสเซอร์       หน่วยความจำ         อุปกรณ์เก็บข้อมูล         อุปกรณ์รับข้อมูล          อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล 3.2 Software   ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จะถูกอ่านจากหน่วยบันทึกข้อมูล ส่งต่อไปยังซีพียู เพื่อควบคุมการประมวลผล และคำนวณ ซอฟต์แวร์  แบ่งออกเป็น  2  ประเภทคือ (1)  ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ ( Operating System Software)   เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของฮาร์ดแวร์  ซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ระบบปฏิบัติการยอดนิยมในปัจจุบันนี้ คือ  Window Me, Windows XP,  OS/2,  Unix   และ   L...

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มีประโยชน์มากมาย เช่น การใช้งานภาครัฐ   งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน งานภาษี เช่น ยื่นแบบประเมินภาษี ภาษี ผ่าน อินเทอร์เน็ต  เก็บทะเบียนประวัติผู้เสียภาษี ตรวจสอบการเสียภาษี งานสายการบิน  การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร ทางด้านการศึกษา  สื่อ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก  การทำธุรกิจแบบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจธนาคาร  ช่วยด้านงานข้อมูลธนาคาร รับ-จ่ายเงิน เก็บประวัติลูกค้า ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำ ธุรกรรม ผ่าน โทรศัพท์มือถือ วิทยาศาสตร์ และการแพทย์  การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ งาน สถาปนิก  ช่วยออกแบบ เขียนแบบ หรือทำแบบจำลองสามมิติ งาน ภาพยนตร์  การ์ตูน  แอนิเมชัน  ช่วยสร้างตัวการ์ตูนเคลื่อนไหว ออกแบบตัวการ์ตูน จำลองตัวการ์ตูนสามมิติ การตัดต่อภาพยนตร์ งานด้าน สถิติ  ช่วยเก็บบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ จำลองแบบข้อมูล และการเผยแพร่ข้...

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเ...

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

รูปภาพ
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ 1.Monitor   Screen, Display  ใช้แสดงผลทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว จอภาพในปัจจุบัน ส่วนมากใช้จอแบบหลอดภาพ  (CRT  หรือ  Cathode Ray Tube)  และจอแบบผลึกเหลว  (LCD  หรือ  Liquid Crystal Display)   2.Computer Case   เก็บอุปกรณ์หลักของคอมพิวเตอร์ เช่น  CPU, Disk Drive, Hard Disk  ฯลฯ 3.Keyboard   ใช้พิมพ์คำสั่ง หรือป้อนข้อมูล มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ดีด แต่มีปุ่มพิมพ์มากกว่า 4.Mouse   ใช้ชี้ตำแหน่งบนจอภาพ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เช่นเดียวกับการป้อนคำสั่งทางคีย์บอร์ด 5.Modem   อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถส่งไปตามสายโทรศัพท์ได้ 6.Printer   อุปกรณ์แสดงผลข้อมูลออกมาทางกระดาษ 7.Scanner   อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือข้อความมาสแกน แล้วจัดเก็บไว้เป็นไฟล์ภาพ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

การทำงานของคอมพิวเตอร์

รูปภาพ
การทำงานของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อช่วยให้  -  การทำงานเอกสารที่ซ้ำๆ ได้อย่างรวดเร็ว  -  การคำนวณตัวเลข ถูกต้อง แม่นยำ -  สามารถเก็บข้อมูล ปรับปรุงแก้ไข ได้โดยง่าย  -  การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นฐานข้อมูล  แล้วสืบค้นได้  -  การติดต่อสื่อสาร เพื่อสืบค้นข้อมูล เพื่อบันเทิง ขั้นตอนการทำงานที่สำคัญของคอมพิวเตอร์   4 ขั้นตอน 1.   การรับข้อมูลและคำสั่ง  (Input)   คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคำสั่งผ่าน อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล เช่น Mouse, Keyboard, Scanner, Microphone 2.  การประมวลผลหรือคิดคำนวณ (Processing) ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามา จะถูกประมวลผลโดยการทำงานของ หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit)   ตามคำสั่งของโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ 3.  การแสดงผลลัพธ์ (Output) คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ป้อน  หรือแสดงผลจากการประมวลผล  ทาง อุปกรณ์แสดงผล เช่น  Monitor, Printer, Speaker 4.  การเก็บข้อมูล (Storage) ผลลัพธ์จากการประมวลผลสามารถเก็บไว้...